วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มือชา...ปัญหาที่พบได้ในคนทำงานออฟฟิศ



        อาการมือเท้าชาในคนทำงานเกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูก กดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมืออาการมือเท้าชาในคนทำงานเกิดจากการที่เส้นประสาทที่พาดผ่านบริเวณข้อมือถูก กดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือเพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือ โดยทอดผ่านบริเวณข้อมือและลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชาร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคนพบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรงหยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ถ้าทิ้งไว้จะพบว่า กล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลงเมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่ง พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ระหว่างวัย 30-60 ปี


    ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอาการ มือเท้าชาได้
      - การกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ เช่น ใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องเจาะสกรู กำไม้เทนนิส ไม้กอล์ฟ
      - กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ
      - โรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เก๊าต์
      - คนที่เป็นเบาหวาน กลุ่มไทรอยด์บกพร่อง
      - ภาวะบวมน้ำจากโรคไต และตับ
      - ภาวะตั้งครรภ์
      - คนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน


    ความอ้วนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการมือชาหรือไม่

      เดิม เชื่อว่าความอ้วนน่าจะเป็นเหตุปัจจัยเสี่ยง ของการเกิดโรคด้วย แต่ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานยืนยันชัดเจน จึงเชื่อว่าไม่น่าจะมีความสัมพันธ์กัน

      อาการมือเท้าชาที่อาจสังเกต ได้ถึงความผิดปกติอย่างชัดเจน ซึ่งควรมาพบแพทย์ คือ อาการเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการชานิ้วมือ ซึ่งมักจะเป็นที่นิ้วกลางและนิ้วนาง รวมทั้งนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชาได้ เริ่มแรกอาการมักจะชาตอนกลางคืน สะบัดข้อมืออาการจะดีขึ้น หรือชาตอนทำงาน ต่อมาอาการชาจะเป็นมากขึ้นและบ่อยขึ้น จนกระทั่งชาเกือบตลอดเวลา มักจะมีอาการปวดตื้อๆ ร่วมด้วยที่มือและแขน ร่วมกับอาการชานอกจากนี้ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีแรง มีของหลุดจากมือโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอุ้งมือด้านข้างลีบได้รักษาอย่างไร การรักษาอาการมือชาที่มาจากการกดทับเส้นประสาทมีทั้งวิธีไม่ผ่าตัด และวิธีผ่าตัด โดยการรักษาวิธีเบื้องต้นโดยการไม่ผ่าตัด ลดความดันในโพรงข้อมือ ได้แก่

      การดามข้อมือ พบว่า ถ้าให้ข้อมืออยู่นิ่งๆ ตรงๆ จะมีความดันในโพรงข้อมือต่ำสุด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงเส้นประสาทดีขึ้น ถ้าเป็นระยะแรก (พังผืดยังไม่หนามากนัก จะได้ผลค่อนข้างดี) 

      ปรับการใช้ข้อมือในการทำงานและชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง พบว่า การทำงานที่ต้องใช้ข้อมือกระดกขึ้น หรืองอข้อมือซ้ำๆ กันนานๆ รวมทั้งงานที่มีการสั่นกระแทก จะทำให้ความดันในโพรงข้อมือสูงขึ้นได้ การปรับอุปกรณ์การทำงานให้ถูกตามหลักอาชีวศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

      การให้ยาต้านโรครูมาตอยด์จะช่วยลดความดันในบริเวณข้อมือได้ ในรายที่เป็นโรคนี้แบบทุติยภูมิ เช่น จากภาวะรูมาตอยด์ และมีเยื่อหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น 

      ถ้าอาการเป็นมากขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณที่เส้นประสาททอดผ่าน ซึ่งยานี้จะแพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อบุผิวข้อ และเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ และบวม ทำให้อาการบวมยุบลง การกดเส้นประสาทจะน้อยลง ปริมาณของยาที่ใช้ฉีดไม่มากนักและไม่มีอันตรายที่รุนแรง การรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้จะได้ผลดีในกรณีที่เส้นประสาทไม่ถูกกดทับมากนัก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยตัดเอาส่วนของพังผืด เส้นเอ็นในส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หลังผ่าตัดอาการก็จะดีขึ้น อาการปวดลดลง อาการชาลดลง แต่อาจไม่ถึงกับหายสนิทยังจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง 

      ยารับประทานที่มักนิยมใช้คือยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์และยาบำรุงเส้นประสาท 

      อาการมือชา ถ้าไม่รับการรักษาและปล่อยทิ้งไว้นานๆ จนส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงได้นั้น คือ การที่กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งนิ้วหัวแม่มือลีบไป และทำให้กำลังมือลดลง 

       คำแนะนำถึงวิธีบรรเทาอาการ หรือวิธีปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากอาการมือชา 
      - หลีกเลี่ยงการใช้งานมือในลักษณะเกร็งนานๆ 
      - ควบคุมหรือรักษาโรคประจำตัว โดยเฉพาะเบาหวานให้ดี 
      - การใช้ยาลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดรับประทานมักจะได้ผลดี โดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ 
      - บางรายอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยดามข้อมือชั่วคราว 

       อย่าง ไรก็ตาม อาการมือเท้าชาอาจมีสาเหตุมาจากระบบประสาท จึงควรเข้ารับการตรวจและพบแพทย์ที่ศูนย์เฉพาะทางสมองและระบบประสาทด้วย เพื่อหาแนวทางรักษาที่เหมาะสม

ที่มา : http://women.thaiza.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น