สำหรับวัดอรัญญิกแต่โบราณนั้น มักจะมีทุกเมืองที่เคยเป็นราชธานีมาก่อน เช่น ที่สุโขทัยก็มี และเป็นวัดที่อยู่นอกตัวเมืองออกไป คุณจำลอง สงวนวงศ์ ได้สันนิษฐานไว้ว่า คงจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เมื่อครั้งพระเจ้าลิไทยทรงเสด็จมาประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ต่อมาพระบรมไตรโลกนารถบูรณะและสร้างเสริม เพื่อให้พระสมาวี สังฆราช ซึ่งพระองค์ได้ทรงนิมนต์มาจากประเทศลังกามาจำพรรษาอยู่ สมัยที่พระองค์เสด็จมาประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก จากนั้นก็คงปล่อยให้ร้างไป ซึ่งน่าเชื่อถือได้ เพราะซากของโบราณทางทิศใต้ แต่ปัจจุบันอยู่ในตัวตลาดพิษณุโลก คือมีถนนพุทธบูชากับถนนบรมไตรโลกนารถ ชนาบททั้งหน้าวัดและหลังวัดและอยู่ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลกด้วย แต่เนื่องจากอยู่นอกกำแพงเมืองพิษณุโลก จึงจัดอยู่ในประเภทวัดสำคัญนอกเมืองพิษณุโลกไป
สภาพปัจจุบันของวัดท่ามะปรางค์เป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ ทั้งพระอุโบสถและพระปรางค์ แต่ความจริงแล้วเป็นวัดเก่าอาจจะถึงสมัยสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้นก็ได้ เพราะโบสถ์หลังใหม่นี้สร้างทับโบสถ์หลังเก่าซึ่งยังเป็นเนินดินอยู่ และในบริเวณวัดก็ยังมีใบเสมาหินกองอยู่มากมาย ซากศิลาแลงก็พบโดยทั่วไป ซากอิฐแบบโค้งเข้าใจว่าเป็นอิฐของเสาโบสถ์วิหารหลังเดิม ส่วนพระปรางค์ก็ถูกซ่อมแซมและทาสีใหม่ จนดูเป็นของใหม่เสียหมดแต่ก็มีเค้าว่าเป็นพระปรางค์เก่า นอกจากนั้นก็ยังมีเจดีย์แบบลังกาอีกหลายองค์ บางองค์ก็สร้างใหม่ บาง องค์ก็เข้าใจว่าซ่อมแซมเจดีย์เก่า
ยังมีผู้เล่าอีกว่า เมื่อไม่นานมานี้มีเด็กไปขุดคุ้ยดินเล่นแถบเหนือวัดท่ามะปรางค์ ริมแม่น้ำน่านใต้ก๊อก น้ำลงไปเล็กน้อย ก็ปรากฏว่าพบพระเครื่องและพระพุทธธูปบูชาชำรุด ส่วนพระเครื่องเป็นพิมพ์เดียวกับพระเครื่องวัดท่ามะปรางค์ ซึ่งมีผู้พบกันมาก จึงน่าสันนิษฐานได้ว่าแถบเหนือวัดท่ามะปรางค์นั้นอาจจะเป็นวัดร้างอีกวัด หนึ่ง หรือไม่ก็อาจจะเป็นบริเวณวัดท่ามะปรางค์เดิมก็ได้
สิ่งสำคัญภายในวัด
ภายในบริเวณวัด
|
เจดีย์ทรงลังกา
|
ใบเสมา
|
องค์พระบนซากวิหาร
|
คู่น้ำภายในวัด
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น