วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สุขภาพหัวใจ อย่าได้มองข้าม

หัวใจ
สุขภาพหัวใจ อย่าได้มองข้าม

          เคยสังเกตกันบ้างไหมว่า ทุกครั้งที่เกิดปัญหาแล้วคุณรู้สึกเครียด สิ่งที่ตามมาโดยไม่คาดคิดคือ อาการป่วยทางกาย ดังนั้น ถ้าต้องการจะให้ร่างกายแข็งแรง เราก็ต้องดูแลสุขภาพใจกันเสียก่อน

          นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ โรงพยาบาลพญาไท กล่าวว่า การทำใจที่จริงไม่ใช่เรื่องของหัวใจแต่เป็นเรื่องของจิตใจซึ่งกำกับดูแลโดยสมองที่จะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าที่ดี ทำ ให้คนเรารู้สึกมีสุข พอใจ ก็เรียกว่าใจมีสุข ขณะเดียวกันถ้าสิ่งเร้า หรือสิ่งกระตุ้นภายนอกทำให้เราไม่สบอารมณ์ ไม่สมใจนึก โกรธ เกลียด หลง โลภ ผิดหวัง ก็ทำให้ใจไม่สบาย ใจมีทุกข์ ร่างกายก็พลอยเป็นทุกข์

          ถ้า จะหยิบยกเอาความหลง หรือความยึดมั่นเกินไป ตัวอย่างเช่น วัยรุ่นหลงติดอยู่กับความสนุกสนานชั่วขณะจนติดยาเสพติด เหมือนกับความต้องการความสุขทันทีที่เกิดขึ้นเหมือนกดปุ่มรีโมททีวี หลงยึดมั่นในความสุขจากยาเสพติดจนไม่สนใจผู้อื่นใดแม้แต่พ่อแม่ของตนเอง สิ่งที่จะช่วยทำใจให้มีสุขได้ในท่ามกลางความทุกข์ใจทั้งหลาย ได้แก่

ประหลาดใจ

สิ่งบันเทิงใจ

          หลายคนทำในแต่ละวัน โดยลืมนึกถึงสิ่งบันเทิงใจมีอารมณ์ขัน ไม่เคยยิ้มหรือหัวเราะ มีแต่งานตลอดวันจนถึงเวลานอน คนที่อยู่รอบข้างก็เบื่อหน่าย เหมือนกับผู้อยู่กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีคนอยากทำงานด้วย การมีอารมณ์ขัน หัวเราะ หรือยิ้มแย้มแจ่มใส จะช่วยให้ร่างกายได้รับการผ่อนคลาย เหมือนกับเติมความหอมหวานให้ชีวิตดูสดชื่น การได้พูดคุยเล่นกับเด็ก ๆ การฝึกหัดร้องเพลง การพูดคุย กับเพื่อนที่มีอารมณ์ขัน สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยให้ท่านมีความสุขมากขึ้น

การสื่อสารที่ดี

          คนหลายคนมักจะไม่ค่อยกล้าพูด หรือแสดงออกถึงความต้องการของตนเองอย่างเหมาะสม มักจะเก็บความต้องการของตนเองไว้ในใจ เกรงใจ กลัวจะทำให้อีกฝ่ายเสียใจ จนตนเองต้องเดือดร้อน เช่น วัยรุ่นไม่กล้าปฏิเสธเพื่อน เวลาเพื่อนชักจูงให้ทดลองยาเสพ พ่อ แม่ไม่กล้าพูดกับลูกเรื่องเพศ จนลูกต้องไปหาความรู้ที่ผิด ๆ จากเพื่อน หรือลูกไม่กล้าปรึกษากับพ่อ แม่ เพราะพ่อแม่มักจะดุว่ากล่าวโทษมากกว่ารับฟังลูก และปัญหาที่ทำงานก็มักจะเกิดขึ้นจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน

ออกกำลังกาย

ออกกำลังกาย

          ยามเจ็บไข้ได้ป่วย เรามักจะถามหาหมอ และยาที่ดีที่สุดที่จะช่วยรักษาให้หาย แต่ความจริงแล้ว การออกกำลังกายนั้นเป็นยาที่วิเศษที่สุดขนานหนึ่งที่ช่วยป้องกันโรค และใช้ฟื้นฟูโรคได้มากมาย เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน โรคกระดูกเสื่อม ฯลฯ โดยไม่ต้องเสียเงินทองมากมาย เพียงแต่ให้ร่างกายได้เดินหรือวิ่งเบา ๆ อาทิตย์ละ 3-4 วัน ๆ ละ 30 นาที ก็เพียงพอแล้ว

ให้กำลังใจตนเอง

          โดยการรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำไปในแต่ละวัน ต้องหมั่นภาคภูมิใจที่ได้ทำงานชิ้นนี้ผ่านไปได้ระดับหนึ่ง รู้จักให้รางวัลตนเองโดยเลือกกิจกรรมที่ชอบ ได้ทานอาหารที่เราชอบ ได้เดินเล่นในสวนสาธารณะ นักศึกษาหลายคนที่เรียนได้คะแนนสอบไม่ดี แทนที่จะให้กำลังใจตนเอง หาทางออกที่ไม่เหมาะสม เช่น โดดหนีเรียน เที่ยวเตร่มากขึ้น ยิ่งทำให้ทุกข์มากขึ้นตามมา แทนที่จะคิดหาหนทางแก้ปัญหา คนไข้หลายคนที่มีปัญหาโรครุมล้อม แทนที่จะให้กำลังใจตนเอง กลับหาทางออกที่ไม่เหมาะสม ประชดตนเอง ไม่กินยาสม่ำเสมอ ไม่ดูแลสุขภาพตนเองยิ่งทำให้มีความทุกข์มากขึ้น

นั่งสมาธิ

บริหารจิต

          ในชีวิตปัจจุบันนี้มีการสับสนวุ่นวายมากพอควร การมีเวลาสำหรับการสงบจิตใจ ทำให้จิตใจมีสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ จะพบว่าเป็นความสุขที่เกิดขึ้นได้ทันที หัวสมองโล่ง หายเครียดได้ทันที ถ้าได้มีการฝึกฝนอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ก็จะพบความสุขอย่างแท้จริง

ทำงานให้มีสุข

          ชีวิตของคนเราในแต่ละวัน จะใช้เวลาประมาณ 1/3 ของชีวิต ถ้าความรู้สึกว่า การทำงานเป็นภาระก็จะมีแต่ความทุกข์ทรมาน ก็จะทำให้ชีวิตนั้นขาดทุน การทำงานทำให้เรามีรายได้ มีการฝึกหัดสมองให้รู้จักคิด ร่างกายได้เคลื่อนไหวที่ให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ได้พบปะผู้คนทำให้ชีวิตเรามีคุณค่าอย่างมาก

ที่มา : e-magazine.info

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น