วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แนวโน้มอุตสาหกรรมไอทีปีหน้า


นายฮิว โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสาหกรรมไอที 10 อันดับแรก ปี 2556 โดยระบุว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมด้านไอที 10 อันดับแรก สำหรับปี พ.ศ. 2556 โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางในการดำเนินงานสำหรับองค์กร มีดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่สำหรับ OPEX และ CAPEX: ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนรวมของระบบจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ต่อปี สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมาจากค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (OPEX) เป็นหลัก ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ (ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน: CAPEX) อยู่ในระดับคงที่ แต่ในปีพ.ศ. 2556 CAPEX มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและจะเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นของต้นทุนรวมในการเป็นเจ้า ของ เนื่องจากฮาร์ดแวร์มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นและความต้องการพื้นที่ความจุของ ระบบจัดเก็บข้อมูลก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

2.โมเดลการบริโภคแบบใหม่: แทนที่จะทุ่มซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลเหมือนในปัจจุบันแล้วค่อย ๆ เพิ่ม CAPEX ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า แต่ต่อไปองค์กรจะเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่พวกเขาต้องการเมื่อมีความต้องการใช้ จริง ๆ และเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว พวกเขาจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีและขีดความสามารถต่าง ๆ ของระบบจัดเก็บข้อมูล เช่น การจัดสรรระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างอิสระ ระบบเสมือนจริง และการโยกย้ายข้อมูลโดยที่ไม่กระทบต่อการทำงานของระบบหลัก นอกจากนี้ ผู้จำหน่ายระบบจัดเก็บข้อมูลอาจจัดเตรียมบริการที่มีการจัดการสำหรับองค์กร เพื่อช่วยเปลี่ยน CAPEX ให้เป็น OPEX ได้อีกด้วย

3. การจัดการการเพิ่มจำนวนการทำสำเนาข้อมูล: การทำสำเนาข้อมูลเป็นการเพิ่มจำนวนข้อมูลและข้อมูลสำรองอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้การจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจ็กต์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ด้วยการลดการสำรองข้อมูลและทำสำเนาเฉพาะข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยน แปลงเท่านั้น

4.การถือกำเนิดของแฟลชคอนโทรล เลอร์สำหรับองค์กร: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีแฟลช Solid State Drive (SSD) สมรรถนะสูงในองค์กรเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากราคาสูงและมีความทนทานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แต่ในปี พ.ศ. 2556 จะได้พบกับการเปิดตัวแฟลชคอนโทรลเลอร์ที่มีตัวประมวลผลขั้นสูง ซึ่งถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลองค์กร อีกทั้งยังมีความทนทาน มีประสิทธิภาพ และมีความจุของหน่วยความจำแฟลชเพิ่มสูงขึ้นด้วย

5.ความต้องการใหม่ ๆ ในระบบจัดเก็บข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ระยะแรกเริ่ม: เนื่องจากการใช้ไฮเปอร์ไวเซอร์ที่เพิ่มขึ้น เช่น วีเอ็มแวร์ และแอพพลิเคชั่น เช่น VDI ได้เปลี่ยนความต้องการในระบบจัดเก็บข้อมูลขององค์กรขนาดกลาง ทำให้ช่องว่างระหว่างสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่และ องค์กรขนาดกลางกำลังแคบลงเรื่อย ๆ เนื่องจากอุตสาหกรรมเริ่มเกิดความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาด ใหญ่ระดับแรกเริ่ม (Entry Enterprise) เนื่องจากระบบเหล่านี้สามารถปรับขยายได้เมื่อเวิร์กโหลดเพิ่มขึ้น ด้วยการเพิ่มตัวประมวลผล พอร์ต และแคช รวมถึงราคายังคงอยู่ในระดับตลาดขนาดกลางด้วย



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น