การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ถูกจับตามองด้วยความห่วงใยว่า
จะเป็นการ "เลือกตั้งเลือด" หรือไม่ เพราะเหตุการณ์วันเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่
26 มกราคม ที่หน้าหน่วยเลือกตั้งวัดศรีเอี่ยม ซึ่ง นายสุทิน ธราทิน
แกนนำกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) ถูกยิงเสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก
อาจเป็นเพียง "หนังตัวอย่าง" ฉากเล็กๆ ฉากหนึ่งเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงระดับสูงแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์วันเลือกตั้งที่อาจเกิดการปะทะ และนองเลือดระหว่างกลุ่มคนที่คัดค้านไม่ให้มีการเลือกตั้งกับกลุ่มคนที่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง
“ผบ.เหล่าทัพ เป็นห่วงว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้น เพราะรัฐบาล และกปปส. ได้ประกาศเดินหน้าตามเจตนารมณ์ของตัวเองไปแล้ว โดยไม่สนใจว่าจะเกิดความรุนแรงในวันเลือกตั้งหรือไม่ แม้ว่าที่ผ่านมาผบ.เหล่าทัพ จะส่งสัญญาณคัดค้าน แต่สุดท้ายรัฐบาล และกปปส. ก็ไม่ฟัง ต่างฝ่ายต่างมั่นใจในมวลชนที่สนับสนุนตนอยู่ จึงไม่ฟังเสียงคัดค้านใดๆ"
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงระดับสูงคนเดิมมองว่า ปัญหาความรุนแรงคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากจุดยืนของทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลที่พยายามเดินเกมเพื่อหวังช่วงชิงอำนาจให้กลับมาอยู่ในมืออีกครั้ง จึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อหวังชนะในเกมนี้ให้ได้
“รัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว จึงพยายามให้เกิดการเลือกตั้งให้ได้ แม้จะรู้อยู่เต็มอกว่าหนทางแห่งชัยชนะจะต้องแลกกับการนองเลือดก็ตาม เพราะมั่นใจว่า คะแนนเสียงที่สนับสนุนมีมากพอเมื่อเทียบกับคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์กับมวลชนของกปปส. และหากได้รับชัยชนะก็จะเป็นการล้างมลทินที่กปปส. กล่าวหาในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา”
ส่วนการประกาศนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันที่ 31 มกราคม นี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเลือกตั้ง แม้ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นการเข้ามาเพื่อเป็นเกราะกำบังให้แก่รัฐบาลก็ตาม แต่หากมีการเผชิญหน้ากัน การนองเลือดก็อาจจะเกิดขึ้นได้
“กลุ่มกองกำลังติดอาวุธมักแอบแฝงเข้ามาในการชุมนุมทุกครั้ง จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการนองเลือด การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก สั่งให้ปรับกำลังทหารออกไปสนับสนุนภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยตามที่ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) จำนวน 5,000 นาย เป็นอีกหนึ่งวิธีในการป้องกันที่กองทัพสามารถทำได้เวลานี้”
ด้านแหล่งข่าวในสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มั่นใจว่า รัฐบาล และ ศรส. จะสามารถดูแลสถานการณ์ในวันเลือกตั้งได้ แม้จะเกิดการปะทะกันระหว่างมวลชน 2 ฝ่าย เพราะขณะนี้รัฐบาล และ ศรส.ได้เตรียมกำลังจากเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ เข้าไปดูแลในแต่ละพื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการปะทะกัน ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่เกิดความรุนแรงแน่นอน
แหล่งข่าวสมช. ยังวิเคราะห์ว่าการชุมนุมของกปปส. ในช่วงที่ผ่านมาปลุกระดมคนไม่ขึ้น ตอนนี้มียอดลดลงทุกวัน ดังนั้นยอดการเคลื่อนไหวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ คงมีไม่มากเมื่อเทียบกับคนที่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่มียอดจำนวนมากกว่ากลุ่มกปปส. หลายเท่า แต่ก็ไม่ได้ประมาท เพราะสถานการณ์อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
สำหรับการนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มนปช. ในวันที่ 31 มกราคม ก็ไม่น่าวิตกอะไร เพราะนปช.ต้องการแสดงจุดยืน และแสดงพลังเท่านั้น ไม่ได้ต้องการเข้ามาปะทะกับกลุ่มกปปส. ส่วนกองกำลังติดอาวุธที่จะเข้ามาสร้างสถานการณ์ หน่วยงานด้านความมั่นคงได้เกาะติดตลอด แต่ยังไม่พบการเคลื่อนไหว
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า การประเมินของฝ่ายกองทัพ และสมช. ที่ถือเป็น "เครื่องมือ" สำคัญของรัฐบาลในเวลานี้มีมุมมองที่ตรงข้ามกันชัดเจน ซึ่งถ้าไม่มีเหตุการณ์นองเลือดอย่างที่สมช.ประเมินก็คงเป็นโชคดีของประชาชนคนไทย แต่ถ้ามีการใช้กลุ่มกองกำลังติดอาวุธ หรือเกิดการปะทะกันระหว่างมวลชนสองฝ่ายจนเกิดการจลาจลนองเลือด กองทัพก็แสดงจุดยืนในเรื่องนี้ไว้ชัดอยู่แล้ว
สังเกตได้ว่า หลังการสูญเสียของประชาชนทุกครั้ง ทหารจะออกโรงมาแก้ไขสถานการณ์ตลอด เช่น การส่งกำลังทหารกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) เข้าไปช่วยนำนักศึกษารามคำแหงออกมาจากวงล้อมของกลุ่มคนเสื้อแดง และชายชุดดำติดอาวุธ และการส่งกำลังจากกองทัพภาคที่ 1 มาช่วยดูแลความปลอดภัยรอบพื้นที่ชุมนุมทั้ง 8 จุด เป็นต้น
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก็เคยลั่นวาจาว่า หากเกิดการจลาจลจนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้จริงๆ ทหารก็ต้องออกมาแก้ไขสถานการณ์
ด้าน พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ก็แถลงเมื่อวันที่ 29 มกราคม เพื่อย้ำ "เงื่อนไข" ที่ทหารจะนำกำลังออกมาว่า “สถานการณ์ที่คนไทยกำลังขัดแย้ง และกำลังต่อสู้กัน ขอให้คิดว่า อยู่ในความรับผิดชอบของใครหรือคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ส่วนทหารถูกออกแบบไว้ต่อสู้กับอริราชศัตรูจากนอกประเทศเป็นหลัก แต่เมื่อใดเกิดการจลาจลขึ้นในประเทศ หรือมีกองกำลังต่างชาติเข้ามา ทหารจึงจะมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้อง และสมบูรณ์"
ทหารขีดเส้นใต้ไว้ชัดๆ 2 ข้อว่า 1.เกิดเหตุจลาจล และ 2.มีกองกำลังต่างชาติเข้ามา จึงจะสามารถนำกำลังออกมาได้ตามรัฐธรรมนูญ
ถามว่า เงื่อนไขทั้ง 2 ข้อเกิดขึ้นหรือยัง คำตอบ คือ ยังไม่เกิด แต่ก็มีข่าว และมีแนวโน้มว่าจะเกิด โดยเฉพาะการจลาจลที่อาจเกิดขึ้นระหว่างมวลชนทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนเงื่อนไขข้อที่ 2 มีเพียงรายงานข่าวจากฝ่ายความมั่นคง และคำพูดอันหนักแน่นของ พล.ร.ต.วินัย กล่อมอินทร์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (ผบ.นสร.)
ล่าสุด มีรายงานว่า พล.ร.ต.วินัย ได้ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีการนำกองกำลังจาก "ประเทศเพื่อนบ้าน" เข้ามาทางชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะ โดยมี "เจ้าหน้าที่รัฐ" เป็นผู้อำนวยความสะดวก และมี "แกนนำมวลชน" เป็นผู้ประสานงาน โดยส่วนหนึ่งไปอยู่แถวตลาดไท และเขตอิทธิพลย่านปทุมธานี มีนบุรี
นอกจากนี้ ผบ.นสร.ยังให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการการทหารอีกว่า กองกำลังติดอาวุธต่างชาติเข้ามาทางชายแดน โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐนำรถตู้ขบวนนี้เข้ามา ซึ่งทหารไม่มีอำนาจหน้าที่จะไปตรวจค้นได้
หากวัดจากแนวโน้มของสถานการณ์ และข้อมูลทางการข่าวของทหาร ขณะนี้ "เงื่อนไข" ทั้ง 2 ข้อมีพร้อมหมดแล้ว รอเพียงสถานการณ์ที่ "สุกงอม" ที่ทหารจะออกมาโดยชอบธรรมเท่านั้น
...............
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงระดับสูงแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์วันเลือกตั้งที่อาจเกิดการปะทะ และนองเลือดระหว่างกลุ่มคนที่คัดค้านไม่ให้มีการเลือกตั้งกับกลุ่มคนที่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง
“ผบ.เหล่าทัพ เป็นห่วงว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้น เพราะรัฐบาล และกปปส. ได้ประกาศเดินหน้าตามเจตนารมณ์ของตัวเองไปแล้ว โดยไม่สนใจว่าจะเกิดความรุนแรงในวันเลือกตั้งหรือไม่ แม้ว่าที่ผ่านมาผบ.เหล่าทัพ จะส่งสัญญาณคัดค้าน แต่สุดท้ายรัฐบาล และกปปส. ก็ไม่ฟัง ต่างฝ่ายต่างมั่นใจในมวลชนที่สนับสนุนตนอยู่ จึงไม่ฟังเสียงคัดค้านใดๆ"
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงระดับสูงคนเดิมมองว่า ปัญหาความรุนแรงคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากจุดยืนของทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลที่พยายามเดินเกมเพื่อหวังช่วงชิงอำนาจให้กลับมาอยู่ในมืออีกครั้ง จึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อหวังชนะในเกมนี้ให้ได้
“รัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว จึงพยายามให้เกิดการเลือกตั้งให้ได้ แม้จะรู้อยู่เต็มอกว่าหนทางแห่งชัยชนะจะต้องแลกกับการนองเลือดก็ตาม เพราะมั่นใจว่า คะแนนเสียงที่สนับสนุนมีมากพอเมื่อเทียบกับคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์กับมวลชนของกปปส. และหากได้รับชัยชนะก็จะเป็นการล้างมลทินที่กปปส. กล่าวหาในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา”
ส่วนการประกาศนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันที่ 31 มกราคม นี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเลือกตั้ง แม้ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นการเข้ามาเพื่อเป็นเกราะกำบังให้แก่รัฐบาลก็ตาม แต่หากมีการเผชิญหน้ากัน การนองเลือดก็อาจจะเกิดขึ้นได้
“กลุ่มกองกำลังติดอาวุธมักแอบแฝงเข้ามาในการชุมนุมทุกครั้ง จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการนองเลือด การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก สั่งให้ปรับกำลังทหารออกไปสนับสนุนภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยตามที่ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) จำนวน 5,000 นาย เป็นอีกหนึ่งวิธีในการป้องกันที่กองทัพสามารถทำได้เวลานี้”
ด้านแหล่งข่าวในสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มั่นใจว่า รัฐบาล และ ศรส. จะสามารถดูแลสถานการณ์ในวันเลือกตั้งได้ แม้จะเกิดการปะทะกันระหว่างมวลชน 2 ฝ่าย เพราะขณะนี้รัฐบาล และ ศรส.ได้เตรียมกำลังจากเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ เข้าไปดูแลในแต่ละพื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการปะทะกัน ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่เกิดความรุนแรงแน่นอน
แหล่งข่าวสมช. ยังวิเคราะห์ว่าการชุมนุมของกปปส. ในช่วงที่ผ่านมาปลุกระดมคนไม่ขึ้น ตอนนี้มียอดลดลงทุกวัน ดังนั้นยอดการเคลื่อนไหวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ คงมีไม่มากเมื่อเทียบกับคนที่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่มียอดจำนวนมากกว่ากลุ่มกปปส. หลายเท่า แต่ก็ไม่ได้ประมาท เพราะสถานการณ์อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
สำหรับการนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มนปช. ในวันที่ 31 มกราคม ก็ไม่น่าวิตกอะไร เพราะนปช.ต้องการแสดงจุดยืน และแสดงพลังเท่านั้น ไม่ได้ต้องการเข้ามาปะทะกับกลุ่มกปปส. ส่วนกองกำลังติดอาวุธที่จะเข้ามาสร้างสถานการณ์ หน่วยงานด้านความมั่นคงได้เกาะติดตลอด แต่ยังไม่พบการเคลื่อนไหว
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า การประเมินของฝ่ายกองทัพ และสมช. ที่ถือเป็น "เครื่องมือ" สำคัญของรัฐบาลในเวลานี้มีมุมมองที่ตรงข้ามกันชัดเจน ซึ่งถ้าไม่มีเหตุการณ์นองเลือดอย่างที่สมช.ประเมินก็คงเป็นโชคดีของประชาชนคนไทย แต่ถ้ามีการใช้กลุ่มกองกำลังติดอาวุธ หรือเกิดการปะทะกันระหว่างมวลชนสองฝ่ายจนเกิดการจลาจลนองเลือด กองทัพก็แสดงจุดยืนในเรื่องนี้ไว้ชัดอยู่แล้ว
สังเกตได้ว่า หลังการสูญเสียของประชาชนทุกครั้ง ทหารจะออกโรงมาแก้ไขสถานการณ์ตลอด เช่น การส่งกำลังทหารกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) เข้าไปช่วยนำนักศึกษารามคำแหงออกมาจากวงล้อมของกลุ่มคนเสื้อแดง และชายชุดดำติดอาวุธ และการส่งกำลังจากกองทัพภาคที่ 1 มาช่วยดูแลความปลอดภัยรอบพื้นที่ชุมนุมทั้ง 8 จุด เป็นต้น
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก็เคยลั่นวาจาว่า หากเกิดการจลาจลจนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้จริงๆ ทหารก็ต้องออกมาแก้ไขสถานการณ์
ด้าน พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ก็แถลงเมื่อวันที่ 29 มกราคม เพื่อย้ำ "เงื่อนไข" ที่ทหารจะนำกำลังออกมาว่า “สถานการณ์ที่คนไทยกำลังขัดแย้ง และกำลังต่อสู้กัน ขอให้คิดว่า อยู่ในความรับผิดชอบของใครหรือคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ส่วนทหารถูกออกแบบไว้ต่อสู้กับอริราชศัตรูจากนอกประเทศเป็นหลัก แต่เมื่อใดเกิดการจลาจลขึ้นในประเทศ หรือมีกองกำลังต่างชาติเข้ามา ทหารจึงจะมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้อง และสมบูรณ์"
ทหารขีดเส้นใต้ไว้ชัดๆ 2 ข้อว่า 1.เกิดเหตุจลาจล และ 2.มีกองกำลังต่างชาติเข้ามา จึงจะสามารถนำกำลังออกมาได้ตามรัฐธรรมนูญ
ถามว่า เงื่อนไขทั้ง 2 ข้อเกิดขึ้นหรือยัง คำตอบ คือ ยังไม่เกิด แต่ก็มีข่าว และมีแนวโน้มว่าจะเกิด โดยเฉพาะการจลาจลที่อาจเกิดขึ้นระหว่างมวลชนทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนเงื่อนไขข้อที่ 2 มีเพียงรายงานข่าวจากฝ่ายความมั่นคง และคำพูดอันหนักแน่นของ พล.ร.ต.วินัย กล่อมอินทร์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (ผบ.นสร.)
ล่าสุด มีรายงานว่า พล.ร.ต.วินัย ได้ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีการนำกองกำลังจาก "ประเทศเพื่อนบ้าน" เข้ามาทางชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะ โดยมี "เจ้าหน้าที่รัฐ" เป็นผู้อำนวยความสะดวก และมี "แกนนำมวลชน" เป็นผู้ประสานงาน โดยส่วนหนึ่งไปอยู่แถวตลาดไท และเขตอิทธิพลย่านปทุมธานี มีนบุรี
นอกจากนี้ ผบ.นสร.ยังให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการการทหารอีกว่า กองกำลังติดอาวุธต่างชาติเข้ามาทางชายแดน โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐนำรถตู้ขบวนนี้เข้ามา ซึ่งทหารไม่มีอำนาจหน้าที่จะไปตรวจค้นได้
หากวัดจากแนวโน้มของสถานการณ์ และข้อมูลทางการข่าวของทหาร ขณะนี้ "เงื่อนไข" ทั้ง 2 ข้อมีพร้อมหมดแล้ว รอเพียงสถานการณ์ที่ "สุกงอม" ที่ทหารจะออกมาโดยชอบธรรมเท่านั้น
...............
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น