วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)

AEC คืออะไร
อาเซียนให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง หลังจาก
การดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ได้บรรลุเป้าหมายในปี 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEANEconomic Community: AEC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) และให้อาเซียนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



ในการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ Bali Concord II เห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภายในปี 2563 และให้เร่งรัด การรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (priority sectors) ได้แก่ การท่องเที่ยว การบิน ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศและสุขภาพ


เป้าหมายของ AEC
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยมีแนวคิดว่าอาเซียนจะกลายเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว หรือ Single market and production base นั่นหมายถึง
จะต้องมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี สามารถดำเนินกระบวนการผลิตที่ไหนก็ได้ โดยสามารถ
ใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศ ทั้งวัตถุดิบและแรงงานมาร่วมในการผลิต มีมาตรฐานสินค้า กฎเกณฑ์
กฎระเบียบเดียวกัน

แนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็น AEC
การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นเป้าหมายที่ท้าทายสำหรับไทยในอีก 8 ปี ข้างหน้า ซึ่งไทยจำเป็นต้องเร่งดำเนินการและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งนี้ การดำเนินงานเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่ผ่านมา 15 ปี ถือว่าประสบผลสำเร็จพอสมควร เห็นได้จากปริมาณการค้าภายใน
อาเซียนที่ขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในด้านการลงทุนยังไม่บรรลุผล เนื่องจากปริมาณการลงทุนทั้งจาก
ภายในและภายนอกอาเซียนยังอยู่ในระดับต่ำมาก นอกจากนี้ ประเทศจีนและอินเดียเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาค และเป็นแหล่งดึงดูดในด้าน เศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนแต่ละประเทศ ที่มีเศรษฐกิจเล็กมาก จึงมีความจำเป็น ที่อาเซียนจะต้องเร่งดำเนินการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในเพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ในลักษณะเดียวกับ EU โดยจะต้องจัดทำแผนงานและดำเนินการตามอย่างเคร่งครัด และจำเป็นต้องมี
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก
ความจำเป็นที่อาเซียนต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใน ก็เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ
ในการแข่งขันให้กับอาเซียนเอง และเพื่อสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางภายในภูมิภาค คานอำนาจของประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาคที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างเช่น จีน และอินเดีย ทั้งนี้ อาเซียนได้ตกลงที่จะเปิดเสรีด้านการค้า สินค้าและการค้าบริการให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิม ในสาขาสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา เพื่อเป็นการนำร่อง และส่งเสริมการ outsourcing หรือการผลิตสินค้า โดยใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตภายในอาเซียนซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่การเป็น AEC และได้มอบหมายให้ประเทศต่างๆ ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ดังนี้ พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร (Agro-based products) และสาขาประมง (Fisheries) มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง (Rubber-based products) และสาขาสิ่งทอ(Textiles and Apparels) อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ (Automotives) และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้ (Wood-based products) ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) และสาขาสุขภาพ (Healthcare) ไทย สาขาการท่องเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air Travel)


AEC Blueprint
ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้เห็นชอบและมอบหมายให้ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
(SEOM) จัดทำพิมพ์เขียว AEC Blueprint เพื่อเป็นแผนงานภาพรวมที่จะระบุกิจกรรมด้านเศรษฐกิจครอบคลุมทั้งสินค้า/บริการ การลงทุน แรงงาน และเงินลงทุนที่จะเปิดเสรีมากขึ้นในอนาคต เหตุผลที่อาเซียนต้องจัดทำ AEC Blueprint ก็เพื่อจะกำหนดทิศทาง แผนงานในด้านเศรษฐกิจที่ต้องดำเนินงานให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่ กำหนดจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายและเพื่อสร้าง "พันธสัญญา" ระหว่างประเทศสมาชิกที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวร่วมกัน เพราะการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการปรับตัวของอาเซียน ซึ่งมักจะมีความแตกต่างในด้านต่างๆ อันนำไปสู่ปัญหาความแตกแยก ไม่ลงรอยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น