นิด้าโพล' ชี้ครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง ในกทม.มีความพร้อมปานกลางในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่วนใหญ่หวังให้การศึกษาไทยพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นสากล มีความทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน...
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็นประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง "อนาคตการศึกษาไทย กับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" สำรวจระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม - 18 มิถุนายน 2555 โดยสำรวจจากประชาชนทั่วกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามกลุ่มอาชีพเฉพาะ ครู 1,419 หน่วยตัวอย่าง ผู้ปกครอง 1,101 หน่วยตัวอย่าง และนักเรียน 250 หน่วยตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 2,770 หน่วยตัวอย่าง
ทั้งนี้ ต่อข้อถามว่าท่านทราบเรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยมาจากแหล่งใด สูงสุดร้อยละ 48.48 ติดตามจากโทรทัศน์ รองลงมา ร้อยละ 26.97 ติดตามจากที่ทำงาน และร้อยละ 25.74 ติดตามจากหนังสือพิมพ์ ส่วนความรู้เรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ร้อยละ 43.47 รู้ปานกลาง ร้อยละ 36.35 รู้มาก และร้อยละ 9.86 รู้มากที่สุด ด้านความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คนส่วนใหญ่มีความพร้อมปานกลาง 43.97 มีความรู้มากและมากที่สุด ร้อยละ 36.03 และ ร้อยละ 10.58 ตามลำดับ
ต่อข้อถามว่าท่านมีการเตรียมตัวในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไร ร้อยละ 34.19 ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 33.26 ฝึกใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างๆ ที่คิดว่ามีความจำเป็นต้องใช้ในอนาคต และร้อยละ 27.35 มีการค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น อ่านหนังสือ อินเทอร์เน็ต ส่วนสิ่งที่คาดหวังต่ออนาคตการศึกษาของเด็กไทย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ร้อยละ 78.25 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นสากล มีความทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน และร้อยละ 21.75 เด็กไทยได้รับการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นกว่าเดิม.
นิด้าโพล' ชี้ครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง ในกทม.มีความพร้อมปานกลางในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่วนใหญ่หวังให้การศึกษาไทยพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นสากล มีความทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน...
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็นประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง "อนาคตการศึกษาไทย กับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" สำรวจระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม - 18 มิถุนายน 2555 โดยสำรวจจากประชาชนทั่วกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามกลุ่มอาชีพเฉพาะ ครู 1,419 หน่วยตัวอย่าง ผู้ปกครอง 1,101 หน่วยตัวอย่าง และนักเรียน 250 หน่วยตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 2,770 หน่วยตัวอย่าง
ทั้งนี้ ต่อข้อถามว่าท่านทราบเรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยมาจากแหล่งใด สูงสุดร้อยละ 48.48 ติดตามจากโทรทัศน์ รองลงมา ร้อยละ 26.97 ติดตามจากที่ทำงาน และร้อยละ 25.74 ติดตามจากหนังสือพิมพ์ ส่วนความรู้เรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ร้อยละ 43.47 รู้ปานกลาง ร้อยละ 36.35 รู้มาก และร้อยละ 9.86 รู้มากที่สุด ด้านความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คนส่วนใหญ่มีความพร้อมปานกลาง 43.97 มีความรู้มากและมากที่สุด ร้อยละ 36.03 และ ร้อยละ 10.58 ตามลำดับ
ต่อข้อถามว่าท่านมีการเตรียมตัวในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไร ร้อยละ 34.19 ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 33.26 ฝึกใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างๆ ที่คิดว่ามีความจำเป็นต้องใช้ในอนาคต และร้อยละ 27.35 มีการค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น อ่านหนังสือ อินเทอร์เน็ต ส่วนสิ่งที่คาดหวังต่ออนาคตการศึกษาของเด็กไทย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ร้อยละ 78.25 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นสากล มีความทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน และร้อยละ 21.75 เด็กไทยได้รับการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นกว่าเดิม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น