วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เรื่องเล่าจากอินโดนีเซีย
โครงการแลกเปลี่ยนภาคประชาชนอาเซียน (ไทย-อินโดนีเซีย)
ระหว่างวันที่ 11-17 กรกฎาคม 2552
อินโดนีเซีย ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในกลุ่มประเทศอาเซียน ดินแดนแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม แหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งในภูมิภาค
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทและความสาคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาดของเศรษฐกิจและตลาดที่ใหญ่ที่สุด มีประชากรมากที่สุด เป็นที่ตั้งของสานักงานเลขาธิการอาเซียน มีองค์กรภาคประชาสังคมมากมายกว่า 800 องค์กร ที่จะเป็นรากฐานสาคัญในการสร้างประชาคมอาเซียนในอนาคตที่เข้มแข็งและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้ สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย พิจารณาดำเนิน “โครงการแลกเปลี่ยนภาคประชาชนอาเซียน” ที่อินโดนีเซียเป็นประเทศแรก
การเดินทางไปกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 11 – 16 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา ถือเป็นการเดินทางไปอินโดนีเซียครั้งแรกของฉัน ซึ่งฉันมีความคาดหวังจะได้เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างภาคประชาชน การสร้างเครือข่าย และการได้ซึมซับความเป็นอาเซียนตามคาพูดของดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันที่กล่าวไว้ว่าอาเซียนมี “อัตลักษณ์เดียวในความหลากหลาย” (Identity based on diversity) การเดินทางครั้งนี้จึงไม่ใช่การไปในฐานะเจ้าหน้าที่สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย เท่านั้น แต่เป็นในฐานะคนไทยและคนอาเซียน ที่ในอีก 6 ปีข้างหน้าจะต้องเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนแห่งนี้
คณะของเราประกอบไปด้วยตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ จานวนทั้งสิ้น 25 ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสื่อภาคประชาชน กลุ่มหลากหลายทางเพศ กลุ่มชุมชนเมือง กลุ่มแรงงาน กลุ่มผู้พิการ และเครือข่ายกะเหรี่ยง ฯลฯ ทาให้เรากลายเป็นคณะเดินทางที่มีความหลากหลาย แต่ทุกคนก็ให้ความเป็นกันเองและยินดีแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มของตน
ว่าไปแล้ว หากจะเปรียบคณะของเรากับสังคมไทยที่เราต้องอาศัยอยู่ นับได้ว่าความหลากหลายของพวกเราเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง การมาจากพื้นฐานที่ต่างกัน หากไม่เข้าใจกัน การอยู่ร่วมกันคงเป็นเรื่องยาก การเดินทางไปอินโดนีเซียด้วยกันครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดี ที่จะทาให้เราได้รับฟังความคิดเห็น ซักถาม และเสริมสร้างความเข้าใจต่อกันกับเพื่อนพ้องกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม
ให้มากขึ้น หากเราทาให้สังคมไทยเราเกิดความปรองดองภายในได้แล้ว การจะทาให้อาเซียนรวมกันเป็นหนึ่งคงไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม
นอกจากการแลกเปลี่ยนภายในคณะแล้ว ทุกคนยังให้ความสนใจที่จะพูดคุยกับตัวแทนขององค์กรภาคประชาสังคมของอินโดนีเซีย แม้จะมีอุปสรรคทางด้านภาษาเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ต่างฝ่ายต่างก็พยายามที่จะสื่อสารกันให้ได้มากที่สุด ฉันรู้สึกประทับใจท่าทางสนอกสนใจของตัวแทนภาค ประชาสังคมอินโดนีเซียที่มีต่อคาถามภาษาไทยที่คณะของเราถาม ทั้ง ๆ ที่ไม่สามารถเข้าใจภาษาไทยได้ แต่พวกเขาก็ตั้งใจฟังเป็นอย่างดีก่อนที่จะได้รับฟังคาแปลเป็นภาษาอังกฤษเสียอีก
ในการเดินทางครั้งนี้ คณะของเรายังได้รับเกียรติให้เข้าพบท่าน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ที่สานักงานเลขาธิการอาเซียนอีกด้วย ซึ่งท่านดร.สุรินทร์ฯ ได้กล่าวบรรยายให้คณะ ได้ทราบเกี่ยวกับความสาคัญของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และความสาคัญของภาค ประชาสังคมที่จะมีบทบาทในการสนับสนุนทั้งด้านการเมืองความมั่นคง และเศรษฐกิจของประชาคมในอนาคตนอกเหนือจากงานด้านสังคมและวัฒนธรรม ฉันรู้สึกเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ในอนาคตคนไทยจะต้องมี 2 อัตลักษณ์ คือ ความเป็นคนไทยและความเป็นคนอาเซียน และเราจะต้องศึกษากฎบัตรอาเซียนให้ดี เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรามีสิทธิอะไรบ้าง และอาเซียนในฐานะองค์กร จะให้อะไรกับเราชาวอาเซียนบ้าง แม้ว่า 42 ปีที่ผ่านมา การปลูกฝังความเป็นเจ้าของอาเซียนร่วมกันจะมีน้อยมาก แต่ฉันก็มั่นใจว่า ความเป็นอาเซียนจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเราเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีซึ่งกันและกันตั้งแต่วันนี้ เมื่อเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ประชาคมของเราจะมีอานาจต่อรองในเวทีโลกมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน
นอกเหนือจากการเข้าพบหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ตลอด 5 วันในจาการ์ตา ฉันได้มีโอกาสสังเกตวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียผ่านร้านรวงสองข้างทาง ฉันรู้สึกว่า นอกจากกรุงเทพฯ แล้ว อย่างน้อยก็ยังมีจาการ์ตาอีกที่หนึ่งที่ฉันจะสามารถเดินออกมาหาอาหารรับประทานได้ตลอดทั้งวัน เพราะมีทั้งร้านข้าวต้ม ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านขนมของว่าง หรือแม้กระทั่งร้านสะดวกซื้อที่คนขายให้ความเป็นมิตรกับฉันมาก คงจะดีกว่านี้ถ้าฉันสามารถสื่อสารกับพวกเขาเป็นภาษาอินโดนีเซียได้ การต้องพบปะสื่อสารกับผู้คนในอินโดนีเซียทาให้ฉันตระหนักว่า ภาษาเพื่อนบ้านเป็นภาษาที่สาคัญสาหรับคนไทยที่จะเรียนรู้ หากเราสามารถสื่อสารได้หลายภาษา การติดต่อสื่อสารระหว่างกันก็จะสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมือนการที่ชาวต่างชาติที่พูดภาษาไทยได้เข้ามาทาธุรกิจในเมืองไทย
ฉันยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมอนุสาวรีย์เอกราชอินโดนีเซีย (Monumen Nasional) ซึ่งสวนสาธารณะ ที่ล้อมรอบอนุสาวรีย์ ทาให้ฉันนึกถึงสนามหลวงบ้านเราเป็นอย่างมาก เพราะมีเด็ก ๆ มาเล่นว่าวกันเต็มไปหมด มีหลาย ๆ ครอบครัวมานั่งพักผ่อนกัน รวมถึงกลุ่มวัยรุ่นที่จับกลุ่มพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน คงไม่ผิดนักหากจะเปรียบว่ากรุงเทพฯ กับจาการ์ตา เป็นเมืองฝาแฝดกัน ความคล้ายคลึงกันของ เมืองหลวงทั้งสองแห่งนี้ ทาให้ฉันรู้สึกว่าไม่ได้อยู่ไกลจากบ้านเกิดของตัวเองเลย
การไปอินโดนีเซียครั้งนี้ยังทาให้ฉันได้เห็นถึงสิ่งที่คนไทยและคนอินโดนีเซียมีเหมือนกัน นั่นคือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความมีน้าใจ ชอบที่จะช่วยเหลือผู้อื่น สังเกตได้จาก จูโน ผู้ประสานงานชาวอินโดนีเซียที่ช่วยอานวยความสะดวกให้กับคณะตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายอย่างเต็มใจ ตลอดจนชาวบ้านที่ช่วยบอกทางแก่คณะของเราเวลาที่หลงทาง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ฉันมองว่ามันเป็นอุปนิสัยพื้นฐานที่คนอาเซียนทุกประเทศมีร่วมกัน และนี่ก็เป็นหนึ่งใน “อัตลักษณ์เดียวในความหลากหลาย” ที่ฉันมองเห็นในภูมิภาคของเรา และเป็นสิ่งที่นานาประเทศจะนึกถึงเมื่อนึกถึงอาเซียน
วันนี้ ฉันพูดได้เต็มปากว่า ฉันภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนอาเซียน และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาสังคมอาเซียน และจะร่วมสร้างประชาคมแห่งความฝันให้เป็นความจริงให้ได้
บทความโดย พนิตนาฏ โรจนเบญจวงศ์
---------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น