ปัจจุบันอาการปวดเอวและหลังส่วนล่างเป็นสาเหตุให้คนมาพบแพทย์เป็นอันดับที่สองรองจากโรคหวัด อาการปวดหลังอาจมาจากโรคหรือพยาธิสภาพของอวัยวะภายในช่องท้องก็ได้
ลักษณะอาการปวดหลังที่มาจากพยาธิสภาพภายในมักแตกต่างจากอาการปวดหลังจากภาวะของกระดูกสันหลัง เช่น อาการปวดหลังจากภาวะนิ่วอุดตันในทางเดินปัสสาวะส่วนบนทำให้ปวดบีบๆ ปวดมาก และมีอาการปวดร้าวไปที่ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนทำให้ปวดบีบๆ ปวดมาก และมีอาการปวดร้าวไปที่ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง หรืออาการปวดหลังจากตับอ่อนอักเสบ ที่มักมีอาการปวดหลังมาก มีอาการปวดเหมือนทะลุออกมาจากทางด้านหน้าท้อง
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเฉียบพลันควรพักการใช้หลัง หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ใช้แผ่นเย็นประคบหลัง ใช้หมอนรองใต้ข้อเข่าในขณะนอนหรือนอนตะแคงกอดหมอนข้างเพื่อช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อหลังได้ หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป
หากมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ควรต้องบริหารกำลังกล้ามเนื้อเป็นเวลานานต่อเนื่องกัน ต้องระวังผลข้างเคียงของการใช้ยา เช่นแผลในกระเพาะอาหารบวมตามตัว ความดันโลหิต หลอดเลือดอุดตัน ผู้ป่วยบางรายที่มีความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังอาจได้ประโยชน์จากการใส่อุปกรณ์พยุงหลัง อย่างไรก็ตาม อาการปวดหลังเรื้อรัง ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
วิธีดูแลรักษา
- การยืดตัวตรงช่วยลดแรงกดที่กระดูกสันหลัง อย่ายืนหรือนั่งค่อม
- ถ้างานที่ทำต้องนั่งเป็นเวลานาน ควรลุกขึ้นเดินและเปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมง
- ถ้าเก้าอี้ไม่มีพนักพิงที่ช่วยรับหลังส่วนล่าง ให้ใช้หมอนรองหลัง
- ใส่รองเท้าส้นเตี้ย
- นอนบนที่นอนและรองรับส่วนของร่างกายได้ดี
- อย่าให้น้ำหนักมากเกินพิกัด
- งดสูบบุหรี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น