วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วัดนางพญา

 
                วัดนางพญา  ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุโดยห่างจากแนวกำแพงชั้นนอกของวัด พระศรีรัตนมหาธาตุประมาณ  10  เมตร  โดยมีพื้นที่ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและถนนจ่าการบุญ
ทิศใต้ ติดต่อกับวัดราชบูรณะ  และถนนสิงหวัฒน์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประตูผี  และประตูมอญและแนวกำแพงเมืองเดิม  (ปัจจุบันเป็นศูนย์การค้าใหญ่แห่งหนึ่ง)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแนวกำแพงเมือง  และแม่น้ำน่าน

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 
                ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  53  ตอนที่  34  วันที่  27  กันยายน  2479  เฉพาะวิหาร  (สภาพปัจจุบันเป็นอุโบสถ)  และเจดีย์  2  องค์

ประวัติวัดนางพญา
                วัดนางพญาปรากฏขึ้นในจดหมายเหตุรายวันระยะทางไปพิษณุโลกของสมเด็จเจ้าฟ้ากรม พระยานริศรานุวัดติวงศ์เมื่อ  13  พฤษภาคม  ร.ศ.  120  (พ.ศ.  2444)  ความว่า   . . .ออกจากศาลาการเปรียญไปวัดนางพญาดูระฆังใหญ่ปากกว้างประมาณ  2  ศอก  เป็นระฆังญวนทำด้วยเหล็ก  แล้วไปดูวิหาร  เล็กกว่าวัดราชบูรณะหน่อยหนึ่ง. .   

ระฆังญวน

           นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินยังวัด นางพญาเมื่อ  16  ตุลาคม  ร.ศ.  120  (พ.ศ.  2444)  . . .เมื่อเสร็จการจุดเทียนชัยแล้ว  ไปดูวัดนางพระยาซึ่งอยู่ติดต่อกับวัดมหาธาตุติดกันทีเดียว  วัดนี้มีแต่วิหารไม่มีพระอุโบสถ  มีโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมตั้งอยู่ได้ในนั้นโรงหนึ่ง  พระสอนมีนักเรียนมากที่คับแคบไม่พอ  ออกจากวัดนางพระยาไปถึงวัดราชบูรณะ  ไม่มีบ้านเรือนคั่น. . .                       
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
  
             วิหารเดิมวัดนางพญาได้ถูกทางวัดแปลงเป็นพระอุโบสถโดยการฝั่งลูกนิมิตเข้าไป  ซึ่งเดิมมี ภาพกิจกรรมฝาผนังและเหลืออยู่เพราะด้านหลังท่านประธาน  เข้าใจว่าเป็นเรื่องพุทธประวัติเพราะด้านหลังท่านประธานเป็นเรื่องไตรภูมิ  ผนังวิหารมีทั้งที่เจาะช่องและหน้าต่างซึ่งของเดิมคงจะเป็นแบบเจาะช่องทั้ง หมด  ซึ่งน่าจะมีอายุเก่าไปถึงสมัยอยุธยาหรือสุโขทัยก็ได้  ภายในมีพระประธานองค์ใหญ่  และทางวัดคิดจะรื้อวิหารหลังเดิมและสร้างพระอุโบสถใหม่แทนก็นับว่าน่า เสียดายอย่างยิ่ง  ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสิงหลายองค์  อาจสร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ได้  และวัดนางพระยายังมีชื่อเสียงเรื่องพระเครื่อง  คือ  นางพระนางพญา  พบในกรุครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ.  2444  ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเมืองพิษณุโลก  เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง  และศาลาเล็กที่สร้างไว้เพื่อรับเสด็จและมีการพบกรุพระนางพญาและได้มีการนำ ทูลเล้าฯ  ถวายและยังเหลืออยู่ที่วัดอีกมาก  โดยใน  พ.ศ.  2497  ได้มีการพบกรุวัดนางพญาตรงซากปรักหักพังหน้ากุฏิสมภารถนอม  เจ้าอาวาส  ซึ่งเมื่อขุดหลุมเสาก็พบพระนางพญาจำนวนมหาศาล  แต่ไม่เป็นที่สนใจของชาวเมืองพิษณุโลกนัก  จึงเก็บรวบรวมไว้ที่วัด  ต่อมามีผู้คนที่สนใจได้หยิบฉวยเอาไปเพราะเห็นเป็นพระเก่า 

เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสององค์ใหญ่และองค์เล็ก
                เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสององค์ใหญ่  มีขนาดฐานกว้าง  9.10+9.10  เมตร  สูง  11.60  เมตร  ยังปรากฏชั้นฐานแข้งสิงห์อยู่สองชั้น  สภาพค่อนข้างชำรุดทรุดโทรม  ลักษณะศิลปะอยุธยาตอนปลายต่อรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสิงเล็ก  มีขนาดฐานกว้าง  3.70+3.70  เมตร  สูง 7.95  เมตร  ยังปรากฏฐานแข้งสิงห์รองรับองค์ระฆังอยู่และบัวกลุ่มด้านบนยอดเหนือชั้นบัง ลังก์ขึ้น  สภาพคอนข้างชำรุดเช่นเดียวกัน
                น่าสังเกตว่าวัดนางพญานั้นเดิมหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยเข้าแนว แม่น้ำน่าน  ซึ่งหลักฐานดังกล่าวแสดงถึงการให้ความสำคัญต่อทิศทางของลำน้ำน่านมักจะปรากฏ ในสมัยอยุธยาเป็นสำคัญ  ดังนั้นวัดนางพญาน่าจะก่อสร้างเมื่ออยุธยาได้มีอำนาจเหนือเมืองพิษณุโลกแล้ว อาจจะอยู่ในสมัยเจ้าสามพระยา  (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  2)  หรือสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็เป็นไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น