วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กฏของการกินผลไม้


ในผลไม้มีทั้ง ไฟเบอร์ โปตัสเซียม วิตามินซี และโฟเลต อยู่เป็นจำนวนมาก แต่การรับประทานที่ไม่ถูกหลักก็อาจทำให้ระบบการย่อยเกิดปัญหาได้เช่นกัน ฉะนั้นเพื่อให้ได้ประโยชน์จากผลไม้อย่างเต็มที่ เรามาเรียนรู้การกินผลไม้อย่างถูกหลักกันค่ะ

ไม่ว่าจะเป็นการกินผลไม้ชนิดเดียว หรือกินแบบรวมชนิด ควรกินตอนท้องว่าง นั่นเพราะเมื่อกินผลไม้เข้าไปกระบวนการย่อยจะทำงานอย่างรวดเร็ว โดยร่างกายจะผลิตเอนไซม์พิเศษสำหรับการย่อยผลไม้ออกมา ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลและสารอาหารได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อไหร่ที่คุณกินผลไม้ใกล้กับมื้ออาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารมื้อใหญ่ที่มีอาหารหลากหลาย ท้องของคุณจะกักเก็บอาหารไว้เป็นจำนวนมาก จากนั้นจะใช้เวลาย่อยค่อนข้างนาน ผลไม้ที่กินเข้าไปก็จะไปหมักรวมอยู่กับอาหารนั้นในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา อาทิ อาหารไม่ย่อย, ร้อนใน, เรอ หรือไม่สบายท้องต่าง ๆ นั่นเอง

ประยุกต์การกินโดยดูจากเวลาของอาหารมื้อหลัก

ปกติคนเราจะกินอาหารหลัก 3 มื้อต่อวัน ซึ่งช่วงว่างระหว่างมื้อนั่นละค่ะคือเวลาของผลไม้ โดยปกติจะหลังมื้ออาหารประมาณ 1-2 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นอาหารที่ต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยนาน อย่างเบอร์เกอร์ หรืออาหารจานเนื้อ ควรทิ้งช่วงห่างประมาณ 3-4 ชั่วโมง และถ้าเป็นอาหารจานสลัดที่มีผักใบเขียว คุณทิ้งเวลาเพียง 1.5 ชั่วโมง ก็สามารถกินผลไม้ได้แล้วค่ะ

ที่ดีที่สุดคือควรกินผลไม้เป็นอาหารอย่างแรกของวัน (ตอนเช้า) ขณะท้องว่าง หรือให้กินเป็นมื้ออาหารว่างเช้า (ระหว่างมื้อเช้าและมื้อกลางวัน)

ซึ่งถ้าเลือกมื้ออาหารว่างเช้า คุณสามารถวางแผนมื้ออาหารเช้าร่วมกับการเลือกเมนูผลไม้ได้แบบควบคู่กันไปเลย เมนูแนะนำสำหรับอาหารว่างผลไม้ก็เช่น ฟรุตสลัด แอปเปิ้ล หรือสมูทตี้ และควรหลีกเลี่ยงการกินผลไม้ก่อนเข้านอน เพราะน้ำตาลที่ได้จากผลไม้จะมีพลังงานทำให้ร่างกายตื่นตัว จนคุณอาจนอนไม่หลับ



กินในรูปของสมูทตี้

นมถั่วเหลือง นัทมิลค์ น้ำมะพร้าวหรือโยเกิตเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการปั่นผลไม้ร่วมกับผลิตภัณฑ์นม เนยอื่น ๆ เพราะจะไม่สร้างความลำบากให้กับระบบการย่อยจนเกินไป แต่ไม่ใช่ว่าคุณจะสามารถกินสมูทตี้ได้ตลอดเวลา นอกจากนั้นควรเลือกผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย อย่างแอปเปิ้ลเขียว จะดีต่อสุขภาพมากกว่าค่ะ



กินในรูปของผลไม้อบแห้ง

แต่ไม่ควรกินผลไม้ที่มีความหวานมาก และกินในปริมาณมากเกินไป ควรจำกัดปริมาณการกิน หรือเลือกกินในโอกาสพิเศษก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจค่ะ



ที่มา : นิตยสารขวัญเรือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น