มาเลเซีย
ได้แก่ ธุรกิจโฆษณา สิ่งพิมพ์เชิงพาณิชย์ บริการทางสิ่งแวดล้อม บริการทางอินเตอร์เน็ตและซอฟแวร์ ร้านค้าปลีกอาหารและยา
บริการไอที บริการทางน้ำ การเดินเรือ
สิงคโปร์
ได้แก่ ร้านขายเครื่องแต่งกาย ร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็คทรอนิกส์ ตัวแทนจำหน่ายสินค้าห้างสรรพสินค้า
และสื่อสิ่งพิมพ์
ไทย ได้แก่
บริการสุขภาพ ท่องเที่ยว ร้านบรรจุภัณฑ์จากแก้วและโลหะ ธุรกิจบันเทิง ภัตตาคารและร้านอาหาร
ฟิลิปปินส์
ได้แก่ ธุรกิจการศึกษา การพักผ่อนหย่อนใจ สื่อสารโทรคมนาคม
อินโดนีเซีย
ได้แก่ บรรจุภัณฑ์กระดาษ
เวียดนาม
ได้แก่ โรงแรมและที่พัก
ส่วนประเทศอื่น
ๆ เช่น พม่า ลาว เขมร ไม่โดดเด่นในอุตสาหกรรมบริการ แต่จะเป็นฐานการผลิตที่ดีเพราะยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
และเป็นแรงงานในภาคการผลิตและบริการ สำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้แรงงานเข้มข้น แต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเทศที่ทำการเกษตรมากกว่าอุตสาหกรรม
เมื่อถึงเวลาที่เปิด AEC จะมี 7 สาขาวิชาชีพในภาคบริการที่จะเปิดเสรีนำร่องก่อนเลย
ได้แก่
แพทย์
ทันตแพทย์
พยาบาล
วิศวกรรม
สถาปัตยกรรม
นักสำรวจ
นักบัญชี
จะสังเกตว่า 3 ใน 7 วิชาชีพนี้ จะอยู่ในอุตสาหกรรมการบริการทางสุขภาพ
นั่นคือ หมอ หมอฟัน และพยาบาล ดังนั้นมีแววว่า
หมอและพยาบาลที่เก่ง ๆ ในเมืองไทย มีโอกาสที่จะสมองไหลไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะหมอที่เชี่ยวชาญโรคหัวใจ
จะเป็นที่ต้องการตัวมากในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เพราะเป็นสาเหตุอัตราการตายอันดับ 1
สำหรับโอกาสที่ดีในการทำธุรกิจบริการภายใต้กรอบ AEC ก็คือ เป็นตลาดที่มีศักยภาพแฝง 4 อย่าง ที่เห็นได้ชัด
ก็คือ
-
เป็นภูมิภาคที่มีประชากรมุสลิมอยู่เยอะ
-
การท่องเที่ยวภายในภูมิภาคเดียวกัน
-
การเติบโตของประชากรระดับชนชั้นกลาง
-
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
เมื่อนำเอาโอกาสทางธุรกิจเหล่านี้มาผนวกเข้ากับจุดแข็งของธุรกิจบริการแบบไทย
ๆ ก็จะเห็นว่าสามารถสร้างตลาดสำหรับการบริการให้กับลูกค้าในอาเซียนได้
เช่น เป็นผู้จัดจำหน่ายอาหารฮาลาล บ้านพักอาศัยวัยเกษียณ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
รีสอร์ทและสปา การนวดเพื่อสุขภาพ ที่เป็นบรรยากาศไทย ๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น